น้ำมันเครื่อง เอายังไงดี

มีการถกเถียงกันในวงกว้างว่า นำมันเครื่องสำหรับรถมอร์ไซด์คันเก่ง เราจะดูยังไง เลือกยังไง ซึ่งก็แน่นอนว่าน้ำมันเครื่องเป็นที่พึ่งสุดท้ายที่ทำให้เราวางใจได้ว่าจะปกป้องเครื่องยนต์ของเราให้อยู่กับเราตราบนานเท่านาน
แต่ส่งที่ได้ยินกันบ่อยที่สุดคือ ใช้อันนั้นดี อันนี้ดัง อันโน้นของนอก ของแพงกว่าย่อมดีกว่า ฯลฯ อีกมากมาย โดยหลาย ๆ ครั้ง หลาย  ๆ คน แค่ฟังเค้ามาโดยยังไม่เข้าใจเลยว่า ดูน้ำมันเครืองยังไง มารู้จักมาตรฐานที่เราจำเป็นต้องรู้ และค่ายผู้ผลิตต่าง ๆ นิยมใช้กัน




SAE - Society of Automotive Engineers -สมาคมวิศวกรยานยนต์ของอเมริกา
กำหนดแบ่งเกรดมาตรฐาน"ความหนืด"ของน้ำมันเครือง ที่คุ้นตากันก็เป็น SAE 30, SAE 40, SAE 50 จำง่าย ๆ ไม่ต้องคิดมาก เลขน้อยกว่าก็หนืดน้อยกว่า แต่ผู้ผลิตจักรยานต์ยนต์ส่วนใหญ่ในบ้านเราแนะนำ SAE 40 นะจ๊ะ ส่วนใครจะเลือกหนืดมากกว่า หรือน้อยกว่า ก็แล้วแต่เลย 
อ้าววว แล้วพวก SAE 10w-40, SAE 15w-50 หล่ะ มันเป็นไง จำง่าย ๆ อีกเหมือนกันว่า ตัว"W" ย่อมาจาก winter ซึ่งแปลว่า ฤดูหนาว ดังนั้น 10w-40 จึงหมายถึง เวลาอากาศหนาว(มาก ๆ ที่อุณภูมิ ลบ10 องศาขึ้นไป ซึ่งบ้านเราแทบไม่ต้องสนใจตัวหน้า) น้ำมันเครื่องจะรักษาความหนืดไว้ที SEA 10  ส่วนตัวหลัง 40 ก็วันที่อุณหภูมิราว 100 องศาเซลเซียส ก็ได้ความหนืด SEA 40 นั่นแหละ ดังนั้นบ้านเราไม่ต้องคิดมาก ดูแค่ตัวหลังก็น่าจะพอ ไปอ่านเพิ่มเติมที่ http://www.sae.org/automotive/




API - American Petroleum Institute - สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน
ได้แบ่งมาตรฐานน้ำมันเครื่องตามมาตรฐานการปกป้อง การลดการสึกหรอเมื่อเกิดแรงกด การทนความร้อน และอื่น ๆ อีกมากมาย ไปอ่านเพิ่มเติมที่ http://www.api.org/

ได้กำหนดมาตรฐานตั้งแต่ API SA, SB ,SC, SD, SE, SF, SG, SH, SJ, SL, SM, SN ซึ่งแน่นอนว่าปัจจุบันปี2014 มาตรฐานสูงสุดอยู่ที่ API SN แน่นอนว่า มารตฐานยิ่งสูงก็ยิ่งดีกว่า



JASO - Japanese Automotive Standards Organization - องศ์การมาตรฐานยานยนต์ญี่ปุ่น
มีหลายตัว แต่ตัวหลัก ๆ ที่เราควรรู้ และที่คุ้นตากันก็มี JASO-MA และ JASO-MB  เข้าใจง่าย ๆ เลยคือ MA สำหรับรถคลัชที่แช่อยู่ในน้ำมันเครื่อง อย่างรถมอร์ไซด์ที่เรา ๆ ท่าน ๆ ใช้กันอยู่นี่แหละ หรืออีกนัยหนึ่งคือ รับรองว่าคลัชไม่ลื่น  และ MB สำหรับรถคลัชแห้ง ไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.jsae.or.jp/e07pub/jaso_e.html


มีคำถามต่ออีกว่า แล้วน้ำมัน เซมิ-ซินเทติก(semi-synthetic) และ ฟูล-ซินเทติก(fully-synthetic) หละ เป็นไง ?

เข้าใจง่าย ๆ เลยครับ เซมิ ก็แปลว่าครึ่ง ๆ ซึ่งน้ำมันเครื่องแบบ semi-synthetic ก็คือ น้ำมันเครื่องที่มีพื้นฐานจากน้ำมันปิโตรเลียมปกตินี่และ แต่ได้ปรุ่งแต่ง ใส่สารปกป้องต่าง ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้ปกป้องดียิ่งหขึ้น
ส่วน fully-synthetic ก็คือน้ำมันเครื่องที่สังเคราะห์ 100%  ซึ่งก็แล้วแต่สูตรแล้วแต่ยีห้อ ว่าเพิ่มเติมอะไรลงไปบ้าง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบบ semi ถึง 1.5หรือ 2 เท่าเลยทีเดียว เช่น เซมิโดยทั่วไปอาจคงคุณภาพได้ที 3-5,000 km แต่ฟูล จะรักษาคุณภาพได้ที่ 5-8000 กิโลเลย แต่บางผู้ผลิตก็แคลมอายุการใช้งานถึง 10,000 เลยนะ

แล้วอะไรดีกว่า?

กลับเข้ามาคำถามเดิม ถ้าได้อ่านตั้งแต่ต้นก็คงจะพอรู้แล้วกว่า อะไรดีกว่าไม่ได้ดูที่ semi หรือ fully อย่างเดียว หลัก ๆ เลย อันดับแรกดูที่ api ก่อนเลย ถ้าเซมิ ได้ api sm แต่ fully ได้ api sl ไม่ต้องคิดมากเลย sm ย่อมดีกว่า แต่เนื่องจากตัว น้ำมันเครื่องเซมิ ที่เป็น api sm จะอายุการใช้งาน หรือการรักษาคุณภาพได้ประมาณ 3-5,000 กิโล ดังนั้นในช่วง 3-5,000 กิโลเมตรแรก ตัวเซมิจะดีกว่า หลังจากนั้น ตัวfully ที่เป็น api sl ก็จะดีกว่า เพราะสามารถรักษาคุณสมบัติของน้ำมันเครื่องระดับslได้นานกว่า (แต่ยังไงก็แค่api sl นะจ๊ะ) ทีนี้ก็อยู่ที่เราแล้ว ว่าจะเลือกอะไร คงต้องดูราคา และอื่น ๆ ประกอบด้วย อาจจะเลือก เซมิ +api sm แต่เปลี่ยนบ่อยหน่อย หรือเลือก fully sl ระยะเปลี่ยนก็นานหน่อย แต่ถ้าเลือกได้ก็จัด fully ที่เป็น sm, sn ไปเลย จะได้ไม่มีข้อกังขา แต่เท่าที่เจอปัจจุบัน น้ำมันเครื่องสำหรับมอร์ไซด์ ที่เป็น fully จะได้มารตฐานแค่ sl กันเป็นส่วนใหญ่ อันนี้ก็เลือกกนเองเลยตามความสบายใจแล้วกัน

น้ำมันเครื่องรถยนต์มาใช้กับมอร์ไซด์ คลัชจะลื่นมั๊ย?

เนื่องจากน้ำมันเครื่องรถยนต์มีตัวเลือกมากมาย ทั้ง api sm, api sn ราคาถูกกว่าด้วยนะเออ แน่นอนว่าสูงกว่าของมอร์ไซด์ แต่สำหรับคลัช อันนี้มีทั้งลื่น และไม่ลืน ซึ่งหลาย ๆ รุ่น,ยีห้อ ที่ขายกันอยู่ ก็ไม่ได้เอาน้ำมันเครื่องของตัวเองไปรับรองมาตรฐาน jaso ma กันซักเทาไหร่ เพราะเน้นขายรถยนต์ ซึงเป็นคลัชแห้งอยู่แล้ว ก็เลยไม่จำเป็น แต่เท่าที่เจอมา ส่วนใหญ่ใช้ได้ ไม่ลืน แต่ต้องเลือกนิดนึง เอาที่ไม่มีเครื่องหมาย api energy conserving เป็นพอ


ENERGY CONSERVING เป็นน้ำมันเครื่องคุณภาพพิเศษ ประหยัดพลังงาน ซึ่งก็คือใส่สารต่าง ๆ ให้ลื่นกว่าปกติ เพื่อการประหยัดน้ำมัน และอาจทำให้คลัชมอร์ไซด์ขอเราลื่นได้

มอร์ไซด์รอบการทำงานสูงกว่ารถยนต์ ใช้น้ำมันเครื่องสำหรับมอไซด์น่าจะดีกว่า?

ขอเสนอมุมมองในสิ่งที่หลาย ๆ คนมองข้าม รถจักรยานยนต์ โดยทั่วไป รอบงานเยอะกว่ารถยนต์ก็จริงครับ แต่ ช่วงชักมักจะน้อยกว่า หรือระยะทางน้อยกว่า และเมื่อเอาไปคิดเป็นความเร็วลูกสูบ กลับพอ ๆ กันเลย เช่น
เอาแบบรอบจัดสุด ๆ เลย นะครับ นินจา 300 ช่วงชักอยู่ที่ 49mm กับ รอบที่ได้แรงม้าสูงสุด ที่ 11,000 รอบ ต่อนาที เอามาเทียบกับ รถยนต์กลาง ๆ ในที่นี้ เอาเป็น civic 1.8 ซึ่งมีช่วงชัก 87mm และรอบที่ได้แรงม้างสูงสุดอยู่ที่ 6,500 รอบต่อนาที
เพื่อความเข้าใจง่าย ใน 1 นาที กับรอบที่ได้กำลังมาสุดของ ninja300 ลูกสูบจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 539,000 มิลลิเมตร และ civic 1.8 ลูกสูบจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 565,500 มิลลิเมตร
เห็นได้ว่า ต่างกันไม่มาก ซึ่งในระยะเวลาเท่ากัน การเคลื่อนที่ของลูกสูบได้ระยะทางพอ ๆ กัน(civic1.8 มากกว่านิดหน่อย) ก็แสดงว่า ความเร็วของลูกสูบ น่าจะพอ  ๆ กัน

สำหรับการสึกหรอของเครื่องยนต์ นอกจากจะดูที่รอบแล้ว ยังต้องดูความเร็วของลูกสูบเป็นสำคัญด้วย ลองคิดง่าย ๆ ว่าถ้าเราเดินไปที่ ๆ นึงแบบเรื่อย ๆ ช้า ๆ เราจะเหนือยน้อยกว่า แบบวิ่งไป ซึ่งถ้าเป็นเครืองยนต์ก็คงไม่ต่างกัน การเคลื่อนของลูกสูบ ที่ที่ความเร็วสูงมาก ๆ น่าจะสึกหรอ และรับความเครียด มากกว่าการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ

ถ้านำความเร็วของลูกสูบมาคิด ก็ตอบได้เลยว่า รถมอร์ไซด์รอบจัด ๆ กันรถยนต์ การศึกหรอไม่น่าต่างกันมาก และนำมันเครื่องก็น่าจะอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ของมอร์ไซด์ไม่ได้ดีกว่า โดยส่วนตัว ของรถยนต์น่าจะดีกว่าด้วยซ้ำ

สุดท้ายจะเลือกอะไร ใช้ยีห้อไหน ก็เลือกกันตามสะดวก ตามเงินในกระเป๋าของแต่ละท่าน ก็แล้วกัน อย่าไปเถียงกันให้เหนื่อยแบบไม่จบเลย รถเรา เราเลือก เราจ่าย ขอให้สนุกปลอดภัยกับการขี่มอร์ไซด์นะครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำนวณซีซี

แคมแต่งต้องทำใจ

a/f ratio เท่าไหร่ถึงจะดี