ฝึกขับขี่ปลอดภัยของทาง kawasaki

วันก่อนได้มีโอกาสไปฝึกขับขี่ปลอดภัยของทาง kawasaki ต้อนรับสนามฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัยที่เพิ่งสร้างเสร็จสด ๆ ร้อน ๆ ได้ความรู้ก็เลยเอามาฝากผู้ที่สนใจเอาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันกันนะครับ



การตรวจสอบก่อนการขับขี่
การเตรียมความพร้อมผู้ขับขี่
-มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ไม่อยู่ในระหว่างเจ็บป่วย หรืออดนอน
-ควรมีจิตใจที่แจ่มใส หากมีอารมณ์หงุดหงิด ควรจะลืมเสียให้หมด
-งดเว้นการดื่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล็ สุรา ของมึนเมาทุกชนิด หรือกินยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน หรือมีฤทธิ์ต่อประสาท
-รู้กฎจราจร เครื่องหมายจราจร และสัญญาณจราจรต่าง ๆ
การเลือกขนาดของรถจักรยานยนต์
รถจักรยานยนต์แบ่งออกได้
3 ประเภท
1.ประเภทรถครอบครัว
2.ประเภทรถครอบครัวกึ่งสปอร์ต
3.ประเภทรถสปอร์ต
ดังนั้นผู้ขับขี่ควรเลือกขนาดให้เหมาะสมกับความแข็งแรงของผู้ขับขี่เอง หรือเลือกตามความถนัด ความชำนาญ และความสามารถ โดยมีข้อกำหนดดังนี้




สมรรถนะด้านรูปร่าง
เมื่อผู้ขับขี่นั่งบนเบาร์รถ ปลายเท้าทั้งสองของผู้ขับขี่จะต้องแตะพื้น และน้ำหนักของรถควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับผู้ขับขี่

สมรรถนะด้านความชำนาญ
โดยปกติแล้วผู้ที่เริ่มขับขี่ ควรขับขี่รถที่มีขนาดเล็ก ๆ
ก่อน เช่น รถครอบครัวจนชำนาญแล้วจึงค่อย ขับขี่รถครอบครัวสปอร์ตและรถสปอร์ตต่อไป



สมรรนะด้านความสามารถ
ผู้ขับขี่จะต้องมีความสามารถในการควบคุมบังคับรถ เพราะรถที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักจะมาก อีกทั้งแรงม้าของเครื่องนรต์ก็สูงด้วย



วิธีการตรวจสอบว่ารถมีน้ำหนักมากเกินไปสำหรับท่านหรือไม่ โดยการเข็นรถให้เป็นรูปเลข8 หากท่านสามารถเข็นได้ ก็แสดงว่า รถนั้นเหมาะสมกับท่าน
การตรวจสอบรถประจำวัน
ก่อนทำการขับขี่รถจักรยานยนต์ทุกครั้ง ควรมีการตรวจสอบดูแลรถให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ หากขาดการดูแลอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่ได้ ดังนั้นควรมีการตรวจสภาพรถประจำวันดังนี้
น้ำมันเบนซิน – เปิดฝาถังน้ำมัน หรือดูจากเกจบอกระดับน้ำมันเชื้อเพลิงว่ามีปริมาณเพียงพอในการใช้งานแต่ละครั้งหรือไม่
น้ำมันเครื่อง – เช็คดูระดับน้ำมันเครื่อง จะต้องอยู่ในระดับที่กำหนดไว้ตามคู่มือประจำรถ และความสะอาดของน้ำมันเครื่องเหมาะสมที่จะเปลี่ยนหรือยัง
น้ำมัน 2T – เปิดฝาถังน้ำมัน หรือดูจากเกจบอกระดับน้ำมันหล่อลื่น 2T หากมีปริมาณที่พร่องไป ควรเดิมให้ได้ระดับที่กำหนดเสมอ เพื่อป้องกันการเสียหายของเครื่องยนต์
ยาง – ตรวจดูลมยางทั้ง 2 ล้อ โดยใช้เกจวัดลมยาง ควรอยู่ในระดับมาตรฐาน และตรวจสองรอยฉีกขาดการสึกหรอดอกยาง หากดอกยางสึกหมดให้เปลี่ยนใหม่ทันที
ความตึงของซี่ลวด ตรวจดูซี่ลวดวงล้อว่ามีการหย่อนหรือขาด หากพบ ให้ทำการแก้ไขทันที
โซ่ – ตรจสอบความตึกของโซ่ ให้อยู่ในระดับมาตรฐาน โดยปกติจะอยู่ประมาณ  20-30 มิลลิเมตร ตรวจดูข้อต่อโซ่และหยอดน้ำมันเครื่องที่โซ่
เครื่องยนต์ – ตรวจเช็คเครื่องนต์ว่ามีรอยรั่วซึมที่ส่วนใดบ้างหรือไม่ และตรวจเช็คฟังเสียงเครื่องยนต์ ว่ามีเสียงดังผิดปกติหรือไม่
เบรค – จะต้องตั้งระดับเบรคให้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ควรปรับตั้งหรือเติมน้ำมันเบรคให้อยู่ในระดับมาตรฐาน
คลัชและเกียร์ – เช็คการทำงานของคลัชว่าถูกต้องหรือไม่ โดยการทดลองบีบคลัช และตรวจสายคลัชว่ามีการชำรุดหรือไม่ พร้อมทั้งหล่อลื่น จากนั้นทดลองเข้าเกียร์ว่าสามารถเข้าได้ทุกเกียร์หรือไม่
อุปกรณ์แสงสว่างและสัญญาณต่าง ๆ – ไฟสัญญาณต่าง ๆ จะต้องทำงานได้ถูกต้อง เช่น ไฟเลี้ยว จะต้องกระพริมตามจังหวะที่ถูกต้อง คือไม่กระพริบเร็ว หรือช้าเกินไป ระดับไฟหน้า ไฟเบรคต้องชัดเจน แตรจะต้องดัง
กระจกส่องหลัง – ปรับให้อยู่ในตำแหน่งที่อมงเห็นรถทางด้านหลังได้ชัดเจน
แบตเตอรี่ – ตรวจเช็คระดับน้ำกลั่นว่า มีเพียงพอหรือไม่
ระบบบังคับเลี้ยว – ตรวจโดยการยกเขย่าขึ้นลง และหักแฮนด์ไปทางด้านซ้าย หรือขวาว่าคล่องตัวหรือไม่ จุดยึดต่าง ๆ ของแผงคอจะต้องไม่หลุดหลวม

การแต่งกายเพื่อความปลอดภัย
เสื้อผ้า
- เครื่องแต่งกาย จะต้องเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการขับขี่ สามารถป้องกันอันตรายได้
-สีของเครื่องแต่งกาย ควรจะเป็นสีขาว สีครีม สีแดง สีเขียว สีเทา สีเหลือง สีส้ม (สีสว่างๆ)
หมวกกันน๊อค
-หมวกกันน๊อคเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับศรีษะ เพราะสถิติของผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ประมาณ
70% ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ดังนั้นควรเลือกหมกที่มีขนาดพอเหมาะกับศรีษะ ไม่หลวมหรือแน่นเกินไป และมีน้ำหนักพอดี
**
ข้อแนะนำ**
ไม่ควรใช้หมวกที่ประสบอุบัติเหตุจากการกระแทกมาแล้ว แม้ภายนอกจะดูสภาพดีอยู่ก็ตาม
ถูงมือ
-ถุงมือเป็นสิ่งจำเป็นในการขับขี่ เพราะจะช่วยซับเหงื่อจากฝ่ามือ เพิ่มความกระชับในการจับแฮนด์ได้มั่นคง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันมือและนิ้วเมื่อเกิดอุบัติเหตุและใยช่วงฤดูหนาวจะช่วยให้ความอบอุ่น
รองเท้า
-ควรใช้รองเท้าชนิดหุ้มส้นที่มีขนาดพอดี ไม่หนักและควรเป็นรองเท้าพื้นไม่หนา
-ถ้าเป็นรองเท้าแบบผู้เชือก ควรหาชนิดที่สามารถสวมใส่และถอดได้ง่าย
**ข้อแนะนำ**
ไม่ควรใช้รองเท้าแตะ เพราะไม่สามารถป้องกันเท้าได้ขณะเกิดอุบัติเหตุและดูไม่สวยงามขณะขับขี่

ท่วงท่าการขับขี่



การจอดรถด้วยขาตั้งข้าง
ควรจะตรวจตราพื้นที่ที่จะนำขาตั้งลง จะต้องไม่เป็นพื้นที่มีการยุดตัวของพื้นดิน เพราะจะทำให้รถล้มได้ และควรหมุนแฮนด์รถให้อยู่ด้านซ้ายเพื่อช่วยในการประคองรถ
**ข้อควรรวัง**
ก่อนทำการขับขี่ทุกครั้ง จะต้องนำขาตั้งข้างขึ้นเสมอ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะเลี้ยว
การใช้ขาตั้งกลาง


1.จะต้องตั้งรถอยู่ในแนวตรงขณะขึ้นขาตั้งกลาง ห้ามให้แฮนด์รถอยู่ในลักษณะเลี้ยว เพราะอาจจะทำให้รถเสียหลัก ล้มลงได้



2.ขณะทำการขึ้นขาตั้งกลาง จะต้องให้ขาตั้งกลางอยู่เสมอกับพื้น


3.การออกแรงในการขึ้นขาตั้งกลาง

การนำรถลงจากขาตั้งกลาง


มือทั้งสองข้างจะต้องจับที่แฮนด์ของรถ


ลำตัวจะต้องอยู่ชิดกับตัวรถเพื่อช่วยประคองขณะนำรถลง


ออกแรงดันรถไปด้านหน้าขณะเดียวกัน มือขวาจะต้องกำมือเบรคไว้ และค่อย ๆ ปล่อยในขณะนำรถลง
**หมายเหตุ**
ในการนำรถลงจากขาตั้ง อาจจะทำได้ง่ายขึ้น คือจะต้องออกแรงในการดันรถไปด้านหลังเล็กน้อย และดันไปด้านหน้า จะทำให้สามารถนำรถลงจากขาตั้งกลางได้ง่ายขึ้น

การขึ้นรถ
ควรจะมีการปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อลดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้


มือทั้งสองข้างจะต้องจับแฮนด์ให้มั่นคง


มองไปด้านหลัง ขณะที่ก้าวเท้าขึ้นรถ


ทำการติดเครื่องยนต์


ก่อนทำการขับขี่ทุกครั้งจะต้องมีการปรับกระจกมองหลัง
-ชายแขนเสื้อของผู้ขับขี่
-ตำแหน่งของพืนถนน
1/2ของกระจกมองหลัง

การจอดรถ


จะต้องมองไปด้านหลังก่อนลงจากรถ

ก้าวเท้าลงจากรถ

หมุนคอรถให้ไปทางด้านซ้ายมือและตั้งขาตั้งข้างเพื่อจอดรถ
**ข้อควรระวัง**
จะต้องมีการมองไปด้านหลังทุกครั้งที่ขึ้น หรือลงจากรถ เพื่อเป็นการลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้เส้นทาง เพราะถ้าหากไม่มีการสำรวจด้านหลัง อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้



ท่านั่งขับขี่ที่ถูกต้อง
ท่านั่งขับขี่ ขณะนั่งขับขี่ ควรนั่งในท่าที่สบายและถูกต้อง อวัยวะต่าง ๆ ควรวางให้ถูกต้องตามตำแหน่งเพื่อไม่ให้เกิดอาการเมื่อยล้า หรือเสียการควบคุมการทรงตัว


1.ตา ควรมองกว้าง ๆ และทั่ว ๆ ไปข้างหน้า แทนที่จะจับจ้องอยู่ที่ใดที่หนึ่ง
2.ไหล่ ควรวางในท่าที่สบายเป็นธรรมชาติ ไม่เกร็ง
3.ข้อศอก ควรอยู่ชิดลำตัว ไม่เกร็ง ลามารถขยับได้
4.มือ จับคันบังคังให้กระชับแน่นเกือบรอบ
5.สะโพก ให้อยู่ในลักษณะสบาย ไม่ก่อให้เกิดความเมื่อยล้าแก่ไหล่ และช่วงแขน
6.เท้า ปลายเท้าให้ชี้ไปข้างหน้ารถ วางเท้าไว้บนที่พักเท้า
7.เข่า วางชิดถังน้ำมันไว้ในถนนที่ขรุขระ
หมายเหตุ
การฝึกท่านั่งขับขี่ที่ถูกวิธี สามารถกระทำได้ง่ายโดยทำตามขั้นตอนต่อไปนี้



นำรถขึ้นขาตั้งกลาง แล้วให้ผู้ขับขี่ยืนบนรถ
ย่อเข่าลง นั่งบนเบาะของรถ เข่าวางชิดถังน้ำมัน
ก้มลำตัวพร้อมกับนำมือทั่งสองข้างจับที่แฮนด์
การยืนขับขี่
ท่ายืนขับขี่จะใช้ในกรณีที่มีการขับขี่ผ่านเครื่องกีดขวางที่จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ เช่น กรวด หิน ทราย ซึ่งในการขับขี่จะต้องใช้เกียร์ต่ำ และความเร็วไม่สูงเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม จะทำให้สามารถลดอุบัติเหตุได้


1.ตา ควรที่จะมองไปด้านหน้าจับจ้องวัตถุกีดขวาง
2.ไหล่ อยู่ในท่าที่สบาย ไม่เกร็ง
3.สะโพก สามารถขยับซ้าย ขวาได้
4.มือจับคับบังคับให้กระชับแน่น เกือบรอบ
5.ข้อศอกวางชิดลำตัว สามารถขยับได้
6.วางปลายเท้าขี้ไปด้านหน้า
7.เข่า วางชิดถึงน้ำมัน และหนีบไว้ในถนนขรุขระ
**ข้อควรระวัง**
ในการยืนขับขี่ที่ดี ควรจะวางตัวให้อยู่ในท่าที่ถูกต้อง มิฉะนั้นจะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนสูง และเกิดความเมื่อยล้า ซึ่งจะทำให้เกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ได้

การออกรถ
การออกรถสำหรับผู้ขับขี่ใหม่ จะต้องระวังและฝึกฝนให้เกิดความชำนาญเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น


บีบคลัช


เข้าเกียร์



บิดคันเร่งเครื่องยนต์ พร้อมตรวจสอบความเร็วรอบเดินเบา


ปล่อยคลัชและทำการบีบอีกครั้ง เพื่อทดสอบการทำงานของคลัช


ปล่อยคลัชอย่างช้า ๆ พร้อมบิดคันเร่งทีละน้อย เพื่อให้รถเคลื่อนที่


ก่อนทำการออกตัวรถทุกครั้ง จะต้องให้สัญญาณไฟเลี้ยว และหันมองด้านหลัง เพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น
**หมายเหตุ**
ในการออกตัวรถ ไม่ควรใช้รอบเครื่องยนต์สูง เพราะอาจจะทำให้รถเกิดการกระตุก และเสียการควบคุม ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

การเลี้ยวโค้ง
การขับขี่บนถนนโดยปกติจะมีการทรงตัวที่ดี แต่ในขณะเลี้ยวโค้ง รถจักรยานยนต์และตัวผู้ขับขี่จะต้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อเป็นการสร้างจุดศูนย์ถ่วงเวลาเลี้ยว ซึ่งการวางท่าทางในการเข้าโค้ง มีหลักการวางตัวดังต่อไปนี้


1.เอนตามปกติ
ตัวของผู้ขับขี่ จะเอียงตัวตามลักษณะการเอียงตัวของรถ เป็นท่าธรรมชาติในการเลี้ยวรถ ท่านี้เป็นท่าเลี้ยวรถที่เหมาะสม เพราะได้สมดุลย์ในการเลี้ยวที่สุด


2.เอนออก
ทำโดยการตั้งท่อนบนของร่างกายให้อยู่ในแนวยืน เหมือนกดรถให้เอียงลงไปเท่าที่เอียงรถได้มากที่สุด ผู้เริ่มหัดขับขี่รถมักจะใช้ท่านี้ ข้อดีของท่านี้คือ เมื่อขับขี่ชำนาญแล้วจะขับขี่ง่ายในถนนที่ขรุขระเพราะการมองจะเห็นได้ดีกว่า


3.เอนเข้า
ร่างกายท่อนบนจะเอียงมากกว่าแนวเอียงของรถ ด้วยเหตุนี้จะทำให้หน้าสัมผัสของยางสัทผัสกับถนนได้มากกว่า ท่านี้เหมาะสำหรับถนนเปียกลื่นและใช้ความเร็วสูง ๆ แต่จะจำกัดการมองของผู้ขับขี่
**หมายเหตุ**
เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ ควรหัดให้ชำนาญทั้ง 3 ท่า เพื่อใช้ในการเลี้ยวโค้งที่เหมาะสม เทคนิคการเลี้ยวโค้งที่ถูกต้อง จะต้องเริ่มจากการเบาคับเร่ง เบรค และลดเกียร์ให้ต่ำลงก่อนเข้าโค้ง เมื่อเข้าโค้งเสร็จแล้วจึงเริ่มเพิ่มความเร็วขึ้นใหม่ต่อไป

การเบรค
คือการพยายามที่จะทำให้รถหยุดได้นิ่มนวล และใช้ระยะทางหยุดที่สั้นที่สุด และปลอดภัยที่สุด โดยทั่วไปแล้วมีวิธีการเบรคอยู่
3 วิธี ดังนี้
1.การใช้เบรคหลัง


การใช้เบรคหลังเพียงอย่างเดียว จะทำให้เกิดการลื่นไถลของรถได้


2การใช้เบรคหน้า


การใช้เบรคหน้าเพียงอย่างเดียว จะทำให้ล้อหลังมีการยกตัวสูง ทำให้เสียการทรงตัว



**หมายเหตุ**



ในการใช้เบรคที่สมบูรณ์ควรใช้ทั้งเบรคหน้าและเบรคหลังพร้อมกัน หากใช้เบรคหน้าหรือเบริคหลังเพียงอย่างเดียว อาจทำให้เสียการทรงตัวและระยะในการเบรคจะมากขั้น

3.การใช้เครื่องยนต์เบรค



คือการที่เปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำลง เช่น จากเกียร์ 4 เป็นเกียร์ 3 จะทำให้รถมีความเร็วลดลง จะช่วยในการเบรครถ แต่ไมควรเปลี่ยนจากเกียร์สูงสุดเป็นเกียร์ต่ำสุด เพราะอาจทำอันตรายแก่เครื่องยนต์ได้ และระมัดระวังในการเบรค กับถนนเปียกและทางโค้ง

การขับขี่บนท้องถนน
การคาดคะเนอุบัติเหตุและการขับขี่อย่างปลอดภัย
อาจจะ
- คือการคาดคะเนล่วงหน้าว่าอาจเกิดอันตรายได้ อุบัติเหตุบนท้องถนนส่วนใหญ่ เกิดจากการที่ผู้ขับขี่ขาดการคาดคะเนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา จึงก่อให้เกิดอุบัติเหตุมากมาย ตัวอย่างเช่น การขับรถผ่านรถเมล์ ซึ่งกำลังจอดรับผู้โดยสารอยู่ข้างหน้า ถ้าผู้ขับขี่เพียงแต่คาดคะเนว่า อาจจะ มีคนกำลังจะข้างถนนโยที่รถเมล์บังอยู่ก็ได้ อุบัติเหตุก็จะไม่เกิดขึ้น ในทางตรงกันข้าม ถ้าคิดว่าคงจะไม่มีคน หรือไม่ได้คิดอะไรเลยเกี่ยวกับรถเมล์หรือคนข้ามถนน แล้วขับรถผ่านไปตามปกติ ก็อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุชนผู้ที่กำลังจะข้ามถนนได้ ในกรณีเช่นนี้ การตระหนักว่ามีรถเมล์อยู่ข้างหน้า และมีการคาดคะเนว่า อาจจะ มีคนกำลังข้างถนน โดยที่รถเมล์บังอยู่ ทำให้มองไม่เห็นนั้น เรียกว่าการขับขี่อย่างใช้สติปัญญา



การคาดคะเนล่วงหน้าอย่างระมัดระวัง และเตรียมพร้อมเสมอ เรียกว่าการขับแบบ “อาจจะ” การขับแบบถือเอาความสะดวกของตนเป็นหลัก เรียกว่าการขับแบบ “คงจะ”

การที่มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไร
จากตัวอย่างที่แล้ว ถ้าลองฟังเหตุผลของผู้ขับขี่ที่ได้ก่ออุบัติเหตุชนคนข้างถนน จะได้ความว่า อยู่ดีดีก็มีคนโผล่พรวดออกมา ช่วยไม่ได้จริง ๆ ซึ่งเป็นคำตอบที่แสดงให้เห็นว่า ยังไม่ได้ตระหนักถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ตนขาดการคาดคะเนล่วงหน้าถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นได้ การที่มองไม่เห็น ไม่ได้หมายความว่า ไม่มีอะไรอยู่ข้างหน้า ระที่กำลังจอดอยู่ อาจจะ มีคนกำลังจะข้างถนน และถ้ามีคนออกมากระทันหันจริง ๆ แล้วก็จำเป็นต้องคิดหาวิธีป้องกันอุบัติเหตุ เช่น การลดความเร็วลง เป็นต้น แม้ความเร็ว
40 กม./ชม. จะทำให้ชนคนได้ ทว่าความเร็ว 20 กม./ชม. จะทำให้สามารถหยุดรถได้อย่างปลอดภัยทันท่วงที


การคาดคะเนอันตรายที่จะเกิดขั้น การเตรียมตัวล่วงหน้า เช่น ลดความเร็วอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นเรื่องสำคัญมาก

เทคนิคในการคาดคะเนอันตราย
คนเราถ้าปิดตาอยู่ก็จะขับรถไม่ได้ หรือถังแม้ลืมตา แต่จิตใจไม่อยู่กับตัวหรือมองไปยังสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับการขับรถเลย ก็ไม่ถือว่าเป็นการขับรถอย่างปลอดภัย การรับรู้สภาพต่าง ๆ ที่อยู่ข้างหน้าอย่างถูกต้อง ในระหว่างการขับขี่จะต้องระมันระวังข้างหน้า หลัง ซ้าย ขวา อยู่ตลอดเวลา และจำเป็นจะต้องรับรู้ให้ถูกต้องและรวดเร็ว เกี่ยวกับสภาพของถนนว่า มีรถหรือคนอยู่หรือไม่มี การเคลื่อนไหวอย่างไร


การขับขี่ให้ปลอดภัยนั้น จะต้องแน่ในว่าที่ตรงนั้นไม่มีคน หรือรถวิ่งออกมา เพราะถ้าทราบแน่ชัดว่าไม่มีคนหรือรถอยู่ที่นั่นแล้ว จึงสามารถบอกได้ว่าจะมีอันตรายหรือไม่ แม้ว่าในกรณีที่มองไม่เห็น เพราะหลบมุมสายตาอยู่ แต่ถ้าใช้ความสังเกตบางสิ่งบางอย่างก็จะช่วยลดอุบัตเหตุได้



การขับขี่ให้ปลอดภัยนั้น จะต้องแน่ใจว่าที่ตรงนั้นไม่มีคนหรือรถวิ่งออกมา เพราะถ้าทราบแน่ชัดว่าไม่มีคนหรือรถอยู่ที่นั่นแล้ว จึงสามารถบอกได้ว่าจะมีอันตรายหรือไม่ แม้ว่าในกรณีที่มองไม่เห็น เพราะหลบมุมสายตาอยู่ แต่ถ้าใช้ความสังเกตบางสิ่งบางอย่างก็จะช่ายลดอุบัติเหตุได้

การคาดคะเนการเคลื่อนไหวของรถคันอื่นและผู้ใช้ถนน


การเห็นเพียงว่ามีรถคันอื่นผู้ใช้ถนน การเห็นเพียงว่ามีรถคันอื่น หรือคนอยู่ในบริเวณนั้นยังไม่เพียงพอ ผู้ขับรถจำเป็นจะต้องคาดคะเนได้อย่างถูกต้องว่า คนหรือรถนั้นจะเคลื่อนไหวไปอย่างไร ตัวอย่างเช่น กรณีที่เป็นคนเดินถนน ควรสังเกตจากการเคลื่อนไหวของเขาจากสายตา และมุมที่ยืน
- เขากำลังจะทำอะไร
- เขาทราบหรือไม่ว่า มีรถกำลังมาก เป็นต้น
จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความระมัดระวัง และคาดคะเนให้ถูกต้อง

ตัวอย่างลักษณะมุมอันตรายกับการคาดคะเน
มุมอันตรายบนท้องถนนมีอยู่มากมาย แต่ก็มีผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยที่ขับรถด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง แสดงถึงว่าเขาเป็นผู้เชื่อกฎที่ว่า การมองไม่เห็นไม่ได้หมายความว่าไม่มี ลอกมาศึกษาตัวอย่างกันว่า มุมอันตรายนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร


มุมอันตรายที่เกิดจากการจอดรถ
อันตรายจากการมีรถจอด การที่มีรถจอดอยู่สองฟากถนนน้น มุมอันตรายจะมีอยู่ท้งสองด้าน ผู้ขับขี่จะต้องระมัดระวังทั้งทางซ้ายและขวา ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับการที่มีรถจอดอยู่เพียวฝั่งเดียวแล้ว ผู้ขับจะสังเกตคนข้ามถนนได้ยากกว่า
อันตรายจากการมีรถจอดเรียงกันหลายคัน
การที่มีรถจอดเรียงกันหลายคัน จะทำให้ขอบเขตของมุมอันตรายกว้างขึ้น ถ้าเทียบกับการที่มีรถจอดอยู่เพียวกันเดียว โดยเฉพาะอย่างิย่ง กรณีที่มีคนข้ามถนนมาจากฝั่งขวามือ ผู้ขับมีแนวโน้มว่าจะให้ความระมัดระวังคนข้ามถนนจากฝั่งขวามือน้อยกว่าปกติ
มุมอันตรายที่สี่แยก


มุมอันตรายจากรถด้านขวามือ จากมุมมองของผู้ขับ จะสังเกตุเห็นรถมอเตอร์ไซด์ที่วิ่งมาจากทางขวามมือได้ช้ากว่ากรณีที่ไม่แน่ในว่าทางแยกข้างหน้าจะปลอดภัยหรือไม่ ควรหยุดรถชั่วขณะหรือชะลอความเร็วลง เพราะเสมือนกับกำลัขับพุ่งเข้าสู่อันตรายนั่นเอง
มุมอันตรายจากรถที่กำลังเลี้ยวขวา


กรณีที่เลี้ยวขวาบริเวณสี่แยกจะมีมุมอันตรายอยู่บริเวณรถที่จอดอยู่ข้างหน้า ยิ่งเลี้ยวรถเข้าไปใกล้รถที่จอดอยู่มากเท่าไหร่ อาณาเขตของมุมอันตรายก็จะมากขึ้นเท่านั้น อันตรายก็จะเพิ่มขึ้น
มุมอันตรายจากการเลี้ยวรถในวงแคบ


กรณีที่เลี้ยวรถไปทางขวามือที่สี่แยก ยิ่งบีบมุมมากเท่าไหร่ จะยิ่งทำให้มุมบังตากว้างมากขั้นเท่านั้น ทำให้มีอันตรายเพิ่มขั้น
มุมอันตรายจากทางโค้ง


สิ่งกีดขวางที่ทำให้มุมอันตรายกว้างขึ้น ถึงแม้จะเป็นทางโค้งเดียวกัน การมีสิ่งกีดขวางหรือไม่นั้น จะทำให้อาณาเขตของมุมอันตรายแตกต่างกันออกไป
การขับรถบนทางโค้งแคบ


การขับรถบนทางโค้งแคบที่มองข้างหน้าไม่ค่อยเห็นนั้น มีโอกาสที่จะชนกับรถที่สวนมาได้ง่าย ควรพยายามวิ่งด้วยความเร็วที่สามารถจะหยุดรถได้ภายในระยะครึ่งหนึ่งของระยะทางที่สายตามองเห็นได้ การขับรถด้วยวิธีดังกล่าว ถือว่าเป็นการขับรถโดยใช้สติปัญญา
ตำแหน่งที่เหมาะสมและถูกต้อง
การที่จะสามารถมองเห็นคนหรือรถที่อยู่ในมุมมืดให้ได้เร็วที่สุดนั้น ควรคำนึงด้วยว่าจะต้องขับรถให้วิ่งอยู่บนตำแหน่งใดของถนนดี หรือในส่วนที่เกี่ยวกับรถคันอื่นนั้นจะขับรถให้วิ่งอยู่ตรงส่วนไหนของถนนเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะหากขับรถให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมก็สามารถทำให้เรามองเห็นสิ่งที่มองไม่เห็นขึ้นมาได้
การเปลี่ยนแปลงของมุมอันตรายเนื่องจากการเปลี่ยนตำแหน่ง การเว้นระยะห่างจากรถคันหน้า




การขับรถชิดคันหน้ามากเกินไปนั้น นอกจากทำให้เกิดอุบัติเหตุชนกันง่าย แล้วยังทำให้มุมอันตรายมีขอบเขตกว้างมากขั้นด้วย

ความเร็ว กับการขับขี่อย่างปลอดภัย
ทำไมการขับรถด้วยความเร็วสูงจึงอันตราย
อุบัติเหตุนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ความเร็วสูงเกินควร ลองมาดูกันว่าทำไมความเร็วสูงเกิดควร จึงเป็นอันตราย
อันตรายที่มองในแง่การมองวัตถุ


เวลามองวัตถุขณะที่เรากำลังเคลื่อนไหว กันวัตถุขณะที่เราอยู่นิ่งนั้น การมองเห็นจะไม่เหมือนกัน กรณีที่เราหยุดอยู่นิ่งนั้น คนสามารถมองดูวัตถุ ที่อย่างดูด้วยความระมัดระวังที่เพียงพอ ส่วนกรณีที่เรากำลังเคลื่อนไหว ระยะเวลาที่จะมองได้ก็จะสั้นลง ความระมัดระวังก็จะลดน้อยลง ทำให้เกิดการผิดพลาดได้ง่าย
กล่าวกันว่าขอบเขตของสายตาของคนเรานั้น จะมองเห็นได้ประมาณ 180องศา ในขณะที่กำลังขับรถอยู่นั้นถึงแม้ว่าวัตถุจะอยู่ในขอบเขตที่สายตามองเห็น แต่วัตถุนั้นก็จะเคลื่อนไปข้างหลังเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง สายตาจึงไม่อยู่ในสภาวะที่จะมองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อความเร็วสูงมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพที่สายตามองก็จะชัดเจนน้อยลงเท่านั้น เปรียบเสมือนขอบเขตของการมองเห็นแคบเข้านั่นเอง
อันตรายที่มองในแง่แรงปะทะ


แรงปะทะในกรณีที่รถจักรยานยนต์ชนสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพงคอนกรีต หรือเสาไฟฟ้า จะรุนแรงเพียงไรขึ้นอยู่กับความเร็ว น้ำหนัก และ โครงสร้างของรถจักรยานยนต์ ถ้าเพิ่มความเร็วเป็น 2 เท่า พลังงานของรถจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 เท่า ซึ่งจะทำให้แรงปะทะและการยุบตัวของตัวรถเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นด้วย ถึงจะเร่งความเร็วขึ้นเพียงเล็กน้อยก็ตาม แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ร่างกายของคนเราก็จะได้รับอันตรายกว่าที่คิดไว้มากมาย
อันตรายที่มองระยะทางกว่าที่รถจะหยุดได้
รถจักรยานยนต์นั้นไม่สามารถจะหยุดได้ทันที ระยะทางกว่าที่รถจะหยุดได้ หลังจากที่ผู้ขับมองเห็นอันตรายแล้วนั้นจะมากกว่าที่คิดไว้



ทั้งนี้ระยะทางจากที่เห็นจนเท้าแตะเบรค คิดเท่ากับ 1 วินาที และเป็นการวิ่งบนถนนลาดยางในวันที่ฝนตก ระยะทางที่ใช้กว่าจะหยุดรถได้ จะมากกว่า 1.5 เท่า และบนถนนที่มีหิมะปกคลุม หรือพื้นถนนแข็งเป็นน้ำแข็งน้ำ ระยะทางจะเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่าตัว ถ้าความเร็ว 40 กม./ชม. จะใช้ระยะทางกว่ารถจะหยุดได้ 22 เมตร เช่น ถ้ามองเห็นคนข้ามถนนอยู่ห่างไปข้างหน้า 30 เมตร แล้วแต่เบรคอย่างรวดเร็ว ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงการชนคนได้ แต่ถ้าใช้ความเร็ว 60 กม./ชม. จะชนคนข้ามถนนทันที
อันตรายที่มองในแล่ของเวลา
การขับรถที่ปลอดภัยนั้น ก่อนอืนจะต้องเริ่มจากการมีเวลาเพียวพอ ไม่ต้องรีบร้อน สิ่งสำคัญของการมีเวลาพอเพียงคือ การรักษาระยะห่างจากคน หรือรถได้เพียงพอ อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะรักษาระยะห่างจากคนหรือรถคันหน้าไว้มากก็ตาม แต่ถ้าเพิ่มความเร็วขึ้นมากเท่าไหร่ ระยะเวลาที่รถจะพุ่มเข้าไปชนคนหรือรถ ก็ยิ่งเร็วขึ้นเท่านั้น เวลาที่คิดจะหลบเลี่ยงอันตรายก็จะลดสั้นลงตามลำดับ

ความเร็วที่ปลอดภัยคืออะไร
ความเร็วที่ปลอดภัยคือ ความเร็วที่เหมาะกับสภาพถนน สภาพอากาศ สภาพการจราจร ซึ่งเป็นความเร็วที่ไม่ก่ออันตรายให้แก่ผู้อื่น ลองมาศึกษาการประมาณความเร็วที่ปลอดภัยกัน


สภาพการจราจรกับความเร็วปลอดภัย
ความเร็วจำกัด คือ ความเร็วที่คำนึงถึงอุบัติที่อาจเกิดบนท้องถนน ปรอมาณของรถยนต์ และคนเดินเท้า ระยะห่างระหว่างสี่แยก ความพร้อมของสิ่งอำนวยความปลอดภัยและสภาพบ้านเรือนสองข้างทาง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน ป้องกันมลภาวะของเสียงและแรงสั่นสะเทือน ให้การจราจรเป็นไปอย่างราบรื่น
ฉะนั้นความเร็วจำกัดจะถือเป็นความเร็วที่ปลอดภัยก็ได้ อย่างไรก็ตามสภาพการจราจร ณ ขณะนั้น ๆ อาจทำให้ความเร็วจำกัดเป็นความเร็วที่ไม่ปลอดภัยได้
เช่น บนถนนที่มีรถยนต์ และคนพลุกพล่าน การขับรถด้วยความเร็วจำกัด คือ 40 กม./ชม. นั้นกล่าวได้ว่าเป็นความเร็วที่ไม่ปลอดภัย
ในกรณีนี้ ไม่เพียงแต่อย่างขับเกินความเร็วที่กำหนดเท่านั้น แต่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงสภาวะบนท้องถนนขณะนั้นด้วย


ความเร็วที่ปลอดภัยในเวลากลางคืน
อันตรายเมื่อขับรถกลางคืน


แสงสว่างมีอิทธิพลต่อสายตาของมนุษย์มาก เวลากลางคืนที่มีแสงน้อย สายตาของคนเราจะมองไม่ค่อยเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ยกเว้นสิ่งที่ส่งแสง หรือวัตถุที่สะท้อนแสงได้เท่านั้น จึงทำให้มีอันตรายมาก นอกจากนี้ความรู้สึกเกี่ยวกับระยะทางใกล้ไกล หรือความเร็วของรถก็จะเฉื่อยชาลง ความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานในเวลากล่างวัน สาเหตุเหล่านี้จะทำให้การตัดสินใจและความระมัดระวังลดลง
ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับการขับรถในเวลากล่างวันแล้ว การขับรถในเวลากลางคือจะมีอันตรายมากกว่า
ขับขี่อย่างไรให้ปลอดภัยในเวลากลางคืน



อุบัติเหตุร้ายแรงมักจะเกิดในช่วงเวลาพลบค่ำ และในช่วงเวลากลางคืน จึงขับรถด้วยความเร็วเหมือนเวลากลางวัน นอกจากนั้นนำนวนรถที่วิ่งมีน้อยลง จึงมักลดความระมัดระวังลง และใช้ความเร็วสูงกว่าในตอนกลางวัน ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุ
การขับขี่รถในเวลากลางคืน ควรขับด้วยความเร็วที่สามารถจะหยุดรถได้ในขอบเขตที่สายตามองเห็นได้ จึงจะถือว่าเป็นการขับด้วยความเร็วปลอดภัย
ความเร็วที่ปลอดภัย กับระยะทางที่ไฟหน้ารถส่องถึง
โดยปกติไฟสูง หน้ารถจะส่องได้ไกล
100 เมตร ในกรณีไฟต่ำจะสามารถมองเห็นสิ่งกีดขวางได้ชัดเจนไม่เกินระยะทาง 40 เมตร เพราะฉะนั้น การขับรถในเวลากลางคืน โดยคำนึงถึงระยะทางที่ไฟหน้าส่องไปถึงกับระยะทางที่สามารถจะหยุดรถได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
ตัวอย่างเช่น ระยะทางที่ไฟหน้าส่องถึง
40 เมตร (ไฟต่ำ) ถ้าเราวิ่งด้วยความเร็ว 50 กม./ชม. ระยะทางที่สามารถหยุดรถได้คือ 32 เมตร เพราะฉะนั้นถ้าพบสิ่งกีดขวางและแตะเบรคทันที จะสามารถหลีกเลี่ยงการชนได้อย่างหวุดหวิด

สภาพอากาศกับความเร็วที่ปลอดภัย


เวลาหมอกจัด หรือฝนตกหนัก มีหิมะทัศนะวิสัยจะเลวลง ดังนั้นการควบคุมความเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถนนที่มีหิมะหรือถนนที่พื้นเป็นน้ำแข็ง หรือถนนที่ฝนเพิ่งตกจะลื่นมาก การเบรคกระทันหัน จะอันตรายมากบนถนนดังกล่าว จะต้อง
- ลดความเร็ว ห้ามเบรคกระทันหัน หรือหักรถทันที
- ห้ามเร่งความเร็ว หรือลดความเร็วในทันที ควรขับด้วยความเร็วสม่ำเสมอ
- ถึงแม้ว่าจะใส่โซ่ล้อกันลื่นแล้วก็ตาม ทางโค้งหรือทางชันที่มีหิมะหรือพื้นเป็นน้ำแข็งจะลื่นมาก ต้องใช้ความเร็วต่ำเสมอ

เครื่องหมายจราจร
เครื่องหมายจราจรประเภทบังคับ





เครื่องหมายจราจรประเภทเตือน




ความหมายของสีตามขอบทาง





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำนวณซีซี

แคมแต่งต้องทำใจ

a/f ratio เท่าไหร่ถึงจะดี