มาต่ออุปกรณ์เพิ่มโดยใช้รีเลย์(relay)กันดีกว่า
มีหลาย ๆ
ครั้ง ถ้าจะต่ออุปกรณ์เพิ่มเติมในรถต้องใช้รีเลย์(relay) แล้วคนส่วนใหญ่ก็ชอบจำปนกันระหว่างรีเลย์ไฟ กับรีเลย์ไฟเลี้ยว ซึ่งจริง
ๆ เค้าเรียกflasher แต่ภาษาไทยทำให้หลาย ๆ คนสับสน เอาเป็นว่าจำง่าย
ๆ ถ้าจะทำเกี่ยวกับไฟเลี้ยวก็หารีเลย์ไฟเลี้ยว ถ้าจะต่ออุปกรณ์เพิ่ม
เช่นพวกแตรแรงสูง ไฟต่าง ๆ ก็ใช้รีเลย์(เฉย ๆ)
โดยมากที่หาซื้อมาใช้กันจะเป็นรีเลย์ 5
ขา แต่ละคนเล่นเอางงกันเลยทีเดียวกว่าจะต่อยังไง อย่างที่นิยมกันมากคือ รีเลย์ bocsh
(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
มาดูวิธีทำความเข้าใจแบบง่าย
ๆ ไม่ต้องท่องจำว่าขาอะไรต่อเข้ากับอะไร ผมยังงงเลย ยิ่งถ้าเป็นของบอส จะมีขา 85/86/87/30 อะไรกันเนียะ......... ทำไมไม่เป็นขา 1/2/3/4 ให้เข้าใจง่าย ๆ เพื่อกันความสับสน
และเข้าใจง่าย ๆ โดยไม่ต้องจำ จึงมีหลักง่าย ๆ โดยที่ใช้ได้กับรีเลย์ทุกยี่ห้อ
ไม่ต้องมาจำว่าขาไหน ไปไหน
(ภาพจากอินเตอร์เน็ต)
เอาผังของรีเลย์bosch มาดูกัน (ยี่ห้ออื่นอาจมีชื่อตัวเลยไม่เหมือน
แต่หลักการเดียวกัน) จากรูป สังเกตุได้เลยว่า มีสี่เหลี่ยมซึ่งต่อกับ 85/86 และมีกลุ่มเส้น ๆ ที่คล้ายสะพานไฟ 30/87/87 อีกหนึ่งกลุ่ม พอเราแยกเป็นกลุ่มแบบนี้
คงเริ่มรู้สึกแล้วนะครับว่ามันเริ่มง่ายแระ
เมื่อเราแยกกลุ่มได้แล้ว
การเอาไปใช้ก็ง่าย ๆ เลย
คือกลุ่มที่เป็นก้อนสี่เหลี่ยมให้เอาไปใช้กับวงจรสวิตซ์เปิดปิด และกลุ่มเส้นให้เอาไปใช้กันวงจรอุปกรณ์(จะแตร
จะไฟ วิทยุ หรืออืน ๆ)
อธิบายง่าย ๆ
เลยคือเอาสวิตเดิม(ติดรถที่มีอยู่แล้ว) ต่อเข้า85 ออก86 หรือ ต่อเข้า 86ออก 85 ด้านไหนก็ได้ ส่วนในกรณีที่ไม่มีสวิตเดิมติดรถ(ติดเพิ่ม)
ก็ง่าย ๆ คือจากแบตบวก เข้าสวิตซ์ เข้า85ออก86 ลงกราวน์(หรือแบตลบก็ได้) แค่นี้เราก็ได้วงจรสวิตซ์แล้วครับ สรุปแบบบ้าน ๆ
ง่าย ๆ คือ ต่อไฟผ่านสวิต เพื่อเปิดแล้วให้ไฟผ่านขา85และ86 ไปลงกราวน์ เป็นอันครบวงจร โดยมีสวิตซ์เป็นตัวควบคุม
มาดูอีกกลุ่มเส้น
ยิ่งง่ายเลย ไม่ต้องคิดมาก เพราะไม่ต้องมีสวิตซ์แล้ว สามารถต่อจากบวกแบต เข้า 30 (สังเกตุว่าเป็นรูปสะพานไฟกำลังยก)
แล้วต่อออกจาก 87ขาไหนก็ได้(กรณีรีเลย์ทางเดียว ส่วนรีเลย์2ทางขอยกยอดไว้โอกาสต่อไป) เอาไปเข้าอุปกรณ์ที่เราจะต่อ
แล้วออกจากอุปกรณ์ ลงกราวน์(หรือลบของแบต)
เป็นอันจบสามารถเอาหลักนี้ไปใช้กับอุปกรณ์
หรือรีเลย์ยี่ห้ออะไรก็ได้ จะกี่ขาก็ได้ แค่แบ่งกลุ่มให้ถูก
ยังไงก็ไปลองใช้กันดูนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น